บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 17 มีนาคม
2558
กลุ่มเรียน 105
( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาเล่น
กิจกรรม “ไร่สตอว์เบอรี่”
1.
สูงแค่เอง ทำจากรั่วรวดหนาม
2.
ไม่ได้กิน แค่หยิบเฉยๆ
3.
ขอโทษค่ะ เห็นมันสวยดี
เลยเข้ามาหยิบดูเฉยๆ
4.
รู้สึกผิดกับการกระทำ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
3.
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
เพิ่มเติม ส่งเสริมให้เด็กช่วยตนเองได้
ให้เด็กมีอิสระ ทำอะไรได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร
การสร้างความอิสระ
•
เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
•
อยากทำงานตามความสามารถ
•
เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน
เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
เพิ่มเติม เด็กพิเศษเรียนรู้จากการเลียนแบบจากคนรอบข้าง
หรือเด็กที่มีอายุมากกว่า
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
•
การได้ทำด้วยตนเอง
•
เชื่อมั่นในตนเอง
•
เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
เพิ่มเติม
เมื่อเด็กทำได้เด็กจะมีความภาคภูมิใจ และอยากทำอีก เด็กจะเกิดความมั่นใจในตนเอง
ถ้าเด็กเข้ามาหาบ่อยๆ ครูไม่ควรโกรธเด็ก
ไม่ควรไปตำหนิเด็ก เด็กจะไม่กล้าเข้าใกล้ เด็กจะไม่กล้าทำอะไรเลย
หัดให้เด็กทำเอง
•
ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น
(ใจแข็ง)
•
ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
•
ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•
“ หนูทำช้า ” “
หนูยังทำไม่ได้ ” (อย่าพูด)
เพิ่มเติม เมื่อเด็กพิเศษขอให้ครูช่วยแค่ไหน
ก็ต้องแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องช่วยเด็กทุกเรื่อง ไม่อย่างนั้นเด็กจะทำอะไรไม่ได้ แต่
ถ้าเด็กทำไม่ได้จริงๆถึงจะเข้าไปช่วยเด็ก
อย่าปล่อย
หรือทิ้งเด็กพิเศษไว้คนเดียวเด็ดขาด แม้ว่าจะมีครูอยู่ด้วยก็ตาม
ครูต้องให้เด็กพิเศษกับเด็กปกติไปพร้อมๆกัน
จะช่วยเมื่อไหร่
•
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร
, หงุดหงิด ,
เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
•
หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
•
เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้
แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
•
มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
เพิ่มเติม เด็กจะเกิดความหงุดหงิด
เบื่อ แค่สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
•
แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
•
เรียงลำดับตามขั้นตอน
เพิ่มเติม คนเป็นครูต้องย่อยงานให้เป็น
ดูขั้นตอนให้ดี พยายามย่อยงานให้ได้มากที่สุด เรียงลำดับให้ถูก ห้ามข้ามขั้นตอน ไม่งั้นเด็กจะไม่รู้เรื่อง
การเข้าส้วม
เพิ่มเติม การสอนเด็ก สอนได้
2 แบบ คือ
1.
สอนจากหน้าไปหลัง
เด็กจะได้รู้กระบวนการ ตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้าย เด็กจะรู้สึกว่ามันยาก
2.
สอนจากหลังไปหน้า เด็กจะมีความภาคภูมิใจในตนเอง
การวางแผนทีละขั้น
•
แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป
•
ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
•
ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
•
ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
•
ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
•
เด็กพึ่งตนเองได้
รู้สึกเป็นอิสระ
กิจกรรม “ระบายสีหัวใจของตนเอง”
อุปกรณ์
1.
กระดาษ
2.
กรรไกร
3.
สีเทียน
** เวลาสอนเด็กต้องอธิบาย สาธิตวิธีการทำให้เสร็จก่อนที่จะแจกอุปกรณ์ไม่งั้นเด็กจะไม่สนใจ
วิธีการทำกิจกรรม หาจุดกึ่งกลางของกระดาษ
คิดว่าจุดกึ่งกลางเป็นหัวใจของตนเอง โดยนำสีเทียนระบายจากจุดกึ่งกลางของกระดาษ ไม่ว่าวงกลมนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
-
วงกลมข้างในวงใหญ่ สีเข้ม
ค่อนข้างหนักแน่นในตัวเอง มีความมั่งใจในตัวเองสูง
-
วงกลมข้างในวงเล็ก จุดเล็กๆ
หรือวงกลมข้างในสีบางๆ ไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง มักจะรังเร
-
สีข้างนอกต่อเนื่องกัน
ขนาดพอดี เท่ากันทุกวง เป็นคนมีระเบียบ เรียบร้อย ทำอะไรมีขั้นมีตอน
-
สีข้างนอกไม่เท่ากัน ตัดกัน
เป็นคนไม่ยึดกฎระเบียบ
-
วาดไม่เป็นวง มีหยัก
สีสลับกัน เป็นคนคิดนอกกรอบ มีกฎระเบียบอะไรมีไว้ให้แหก ไม่ทำตามใจปาก
-
เส้นสุดท้ายของวงกลม
เป็นการบ่งบอกตัวตนที่แสดงออกมา
สีแปรด ตัวตนที่แสดงให้เพื่อนเห็นก็แรงเท่านั้น
สีอ่อน เป็นคนอ่อนโยน
พูดไม่เยอะ เรียบร้อย
สีตัดกันอย่างชัดเจน
เป็นคนอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ
กิจกรรม “ต้นไม้แห่งชีวิต”
วิธีการทำกิจกรรม ตัดวงกลมที่ระบายสีเทียน
แล้วนำวงกลมไปแปะทำเป็นใบไม้
ประโยชน์ที่เด็กได้จะได้รับ
คือ
1.
ด้านร่างกาย
2.
สมาธิ
3.
ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
4.
ด้านสังคม
5.
ด้านมิติสัมพันธ์
6.
ด้านคณิตศาสตร์
การลากเส้นสำหรับเด็ก เส้นตรง
ถือว่าเป็นเส้นที่ยากที่สุด
การนำไปใช้
-
กิจกรรมระบายสีสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นได้
-
สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในอนาคตได้จริงๆ
-
ได้รู้ว่า การย่อยงานสำหรับเด็กต้องย่อยงานแบบไหน
เพราะการย่อยงานของเด็กบางคนจะไม่เหมือนกัน
ประเมิน
ตนเอง
:
เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ตอบคำถามอาจารย์ ทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ
ถึงแม้ว่าวงกลมจะไม่ค่อยกลม และขนาดของวงจะไม่เท่ากันก็ตาม
เพื่อน
:
เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
เพื่อนบางคนมีการจดบันทึกเพิ่มเติม บางคนก็ไม่ได้จด
เพื่อนตอบคำถามอาจารย์อย่างชัดถ้อยชัดคำ
บางคนที่ไม่เข้าใจก็จะมีการถามทันทีไม่เก็บไว้ในใจ
ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมทุกอย่างเป็นอย่างดี
อาจารย์
:
เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง มีกิจกรรมมาให้ทำเสมอๆ เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี
อาจารย์มักจะคอยรับฟังปัญหาของนักศึกษาทุกเรื่อง และคอยให้กำลังใจนักศึกษาทุกครั้ง
และทุกๆครั้งอาจารย์ก็จะมีรอยยิ้มกลับมาให้นักศึกษาเสมอๆ