(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  10  มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

 

 ความรู้ที่ได้รับ 
            กิจกรรมก่อนเรียน อาจารย์ให้นักศึกษาดูภาพสิงโตกำลังกินม้าลาย แล้วให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกลงบนกระดาษ
 ชื่อกิจกรรม “ทุ่งหย้าซาวันน่า”
รู้สึก กลัว         
           ดู VDO บ้านพลอยภูมิ ตอน จังหวะกาย จังหวะชีวิต 


 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ 
 2.            ทักษะภาษา
เพิ่มเติม ห้องเรียนต้องมีหนังสืออยู่ในห้องเรียนเยอะๆ แม้ว่าเด็กจะอ่านหรือไม่อ่านก็ตาม
 การวัดความสามารถทางภาษา
-                   เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-                   ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-                   ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-                   บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-                   ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
 การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-                   การพูดตกหล่น
-                   การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-                   ติดอ่าง
เพิ่มเติม เด็กพูดตกหล่น ตกประโยค เช่น หนังสือ = สือ , จิ๊งจก = จก
 การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-                   ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-                   ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
-                   อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด (อย่าขัด ให้เด็กพูดให้จบ)
-                   อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-                   ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-                   เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
 ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-                   ทักษะการรับรู้ภาษา
-                   การแสดงออกทางภาษา
-                   การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
เพิ่มเติม เด็กปกติ ทักษะพื้นฐานมี 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
             เด็กพิเศษ รับรู้ แสดงออก
 พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


 พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


 ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-                   การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-                   ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-                   ให้เวลาเด็กได้พูด
-                   คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-                   เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-                   เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-                   ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-                   กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-                   เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
-                   ใช้คำถามปลายเปิด
-                   เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-                   ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
 การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)
วิธีนี้ใช้กับเด็กพิเศษ


 
                                
 Post Test 
         ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
-                   ไม่ขัดจังหวะในขณะที่เด็กพูด
-                   ไม่เปรียบเทียบเด็ก
-                   ห้องเรียนต้องมีหนังสือ
-                   พูดย้ำในสิ่งที่เด็กทำบ่อยๆ
-                   ร้องเพลง
-                   คำคลองจอง
-                   บทบาทสมมุติ
-                   ไม่ต้องสนใจการพูดผิดของเด็ก
-                   ใช้คำถามปรายเปิด
กิจกรรมสุดท้าย

อาจารย์ให้จับคู่เหมือนเดิม และกิจกรรมในวันนี้ อาจารย์ให้เลือกสีเที่ยนมาคนละ 1 สี แล้วลากเส้นตรงลงบนกระดาษที่อาจารย์แจกให้


 การนำไปใช้ 
-                   สามารถนำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต
-                   สามารถนำกิจกรรมไปใช้กับเด็ก ฝึกให้เด็กมีสมาธิในการขีดเส้นโดยไม่ยกมือ
 ประเมิน 
ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน จดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม ร่วมทำกิจกรรมและร้องเพลงกับเพื่อนๆ
เพื่อน : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนที่เขาเรียนสาย (สายมาก) เพื่อนคุยเสียงดัง บางครั้งก็ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง เนื่องจากวันนี้เรียนกัน 2 กลุ่ม

อาจารย์ : เข้าสอนตรงต่อเวลา หากิจกรรมให้นักศึกษาทำทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ทำให้นักศึกษาไม่ค่อนเครียดในการเรียนมากนัก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น