(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  3  มีนาคม  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

 

ความรู้ที่ได้รับ
            วันนี้อาจารย์มีเกมมาให้นักศึกษาเล่น สนุกๆก่อนที่อาจารย์จะเข้าเนื้อหาของการเรียน
กิจกรรม “รถไฟเหาะแห่งชีวิต”


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1.            ทักษะทางสังคม

-                   เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-                   การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข (จำ)
เพิ่มเติม ทักษะทางสังคมไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อม แต่เกี่ยวกับตัวของเด็กเอง
              ทักษะทางสังคม ต้องปรับที่ตัวเด็ก อย่าปรับที่สภาพแวดล้อม
กิจกรรมการเล่น
-                   การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-                   เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
-                   ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
เพิ่มเติม เด็กพิเศษจะไม่รู้วิธีการเล่น เด็กพิเศษจะเรียนแบบวิธีการเล่นจากเด็กปกติ
ยุทธศาสตร์การสอน
-                   เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-                   ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ           (ห้ามลืมเด็ดขาด)
-                   จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-                   ครูจดบันทึก
-                   ทำแผน IEP
เพิ่มเติม การทำแผน IEP ไม่ใช่แผนที่ทำเฉพาะเด็กพิเศษเท่านั้น และสามารถเขียนได้กับเด็กปกติด้วย
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-                   วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-                   คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-                   ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-                   เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ
เพิ่มเติม วิธีการแบ่งกลุ่ม 4 คน คือ เด็กพิเศษ 1 คน ต่อ เด็กปกติ 3 คน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-                   อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-                   ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-                   ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-                   เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
-                   ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
เพิ่มเติม หน้าที่ครู ระหว่างที่เด็กเล่นจับกลุ่มกันอยู่ ครูควรมองใกล้ๆ สังเกตเด็กไว้ ให้เด็กรู้สึกว่าครูมองอยู่             (สำคัญมาก)
             เวลาเดินดูเด็ก  (ข้อห้าม)  เวลาเดินเข้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ห้าม หันหลังให้เด็กกลุ่มอื่น ต้องทำให้เด็กรู้ว่าครูมองอยู่ตลอด
       การให้ของเล่นเด็ก เมื่อเด็กเล่นกันเป็นกลุ่ม ควรให้ 1-2 ชิ้น ต่อ 4 คน หรือ ให้ของประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็ก
       ห้ามเทของทุกอย่างให้เด็กภายในรอบเดียว เด็กจะเล่นไม่นาน


เพิ่มเติม อธิบายการเล่น สร้างข้อตกลง กฎกติกาการเล่นสำหรับเด็กก่อน
             สร้างเกม / โดยใช้สัญญาณ หรือมีกฎเกณฑ์ในการเล่น
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-                   ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-                   ทำโดย การพูดนำของครู


ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-                   ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
-                   การให้โอกาสเด็ก
-                   เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-                   ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
เพิ่มเติม ห้ามให้เด็กพิเศษมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าเด็กปกติ หรือ บางครั้ง การรับของ ห้ามอ้างให้เด็กพิเศษได้ก่อน เด็กทุกคนมีความเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษหรือว่าเด็กปกติ
Post Test
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางด้านสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไรบ้าง
-                   เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นกับเพื่อน
-                   สร้างกฎเกณฑ์
-                   สร้างจุดเด่นให้เด็กพิเศษ
-                   ให้เด็กรู้จักการรอคอย
-                   เด็กพิเศษจะต้องไม่มีอภิสิทธิ์เหนือกว่าเด็กปกติ
-                   อย่าตำหนิเด็ก
-                   ยิ้ม อย่าพึ่งชมผมงานของเด็ก
-                   อย่าหันหลังให้เด็ก

ร้องเพลง 6 เพลง


เพลงดวงอาทิตย์


เพลงดวงจันทร์


เพลงดอกมะลิ กุหลาบ


กิจกรรม “เส้นและจุด”



การบ้าน อาจารย์ให้นักศึกษากลับไปฝึกร้องเพลง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-                   สามารถนำเพลงไปปรับใช้ในการสอนได้ในอนาคต
-                   สามารถนำกิจกรรมเส้นและจุดไปให้เด็กๆได้เล่น เพื่อให้เด็กได้ฝึกสมาธิ และเพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน
-                   สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ให้เข้ากับการสอนเมื่อมีเด็กพิเศษอยู่ในความดูแล
การประเมิน
      ตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตังใจเรียน ฟังอาจารย์อธิบายเนื้อหา จดบันทึกเพิ่มเติมที่ไม่มีจากในเนื้อหา ทำกิจกรรมทุกอย่างที่อาจารย์นำมาให้ ร้องเพลงเพี้ยนบ้าง เป็นบางช่วง
      เพื่อน : ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติม แต่ก็มีบางคนที่ไม่ได้จด ร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
      อาจารย์ : มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้นักศึกษาได้ทำ ทั้งก่อนและหลังของการเข้าเนื้อหาการสอน หาเพลงใหม่ๆมาให้ฝึกร้อง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น