(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 27 มกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมและเนื้อหา เรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้นักศึกษาวาดรูปดอกทานตะวัน จากภาพที่เห็น และบรรยายภาพ


บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-                   การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-                   จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-                   เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-                   ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-                   เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-                   พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-                   พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-                   ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-                   ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-                   ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-                   ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-                   ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-                   สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-                   จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-                   ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-                   ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-                   ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-                   จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-                   เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-                   บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
            -                   ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
            -                   ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
            -                   พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-                   การนับอย่างง่ายๆ
-                   การบันทึกต่อเนื่อง
      -                   การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
การนับอย่างง่ายๆ
-                   นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-                   กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-                   ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-                   ให้รายละเอียดได้มาก
-                   เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-                   โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-                   บันทึกลงบัตรเล็กๆ
-                   เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-                   ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
-                   พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-                   ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-                   พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

กิจกรรมที่ 2 ร้องเพลง

   

การบ้าน อาจารย์ให้นักศึกษากลับไป ฝึกร้องเพลง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
            -                   สามารถนำเพลงไปปรับ / ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต
                -                    ได้รู้การร้องเพลงที่ถูกต้อง และตรงจังหวะ
การประเมิน
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจวาดภาพแม้จะวาดภาพไม่สวยก็ตาม ตั้งใจเรียน ฟังเวลาที่ครูผู้สอนอธิบาย  จดบันทึกในส่วนที่ไม่มีในชีทเพิ่มเติม
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา อาจมีบางคนเข้าเรียนสายบ้างแต่ไม่เยอะ มีความตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี

อาจารย์  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา แต่กายเรียบร้อย อาจารย์หากิจกรรมต่างๆมานักศึกษาได้ทำ เช่น การร้องเพลง วาดรูป ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน




วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 20 มกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


EAED3214 การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษา
-                   การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-                   การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-                   การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-                   การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-                   เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-                   การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-                   มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-                   ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-                   ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-                   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-                   เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-                   เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-                   การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-                   เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-                   มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-                   เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-                   การศึกษาสำหรับทุกคน
-                   รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-                   จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
-                   การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-                   การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-                   กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-                   เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
"Inclusive Education is Education for all ,
It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
-                   เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
-                   เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
-                   เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
-                   การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-                   เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
-                   เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
-                   ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวม สำหรับเด็กปฐมวัย
-                   ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-                   สอนได้
-                   เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-                   สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนและการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดเป็นครูในอนาคต
-                   สามารถนำรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนของเด็กพิเศษกับเด็กปกติ มีรูปแบบไหนบ้าง และควรปฏิบัติตนอย่างไรในการรับมือกับเด็กที่เรียนรวม 
การประเมิน
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังเวลาที่ครูผู้สอนอธิบาย ทำข้อสอบ มองเพื่อนข้างๆบ้างบางข้อ ส่วนมากทำเองค่ะ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย แต่บางคนมาสาย มีความตั้งใจฟังและเรียนเป็นอย่างดี ไม่คุยกันเสียงดังเวลาอาจารย์อธิบายในเนื้อหาที่เรียน 

อาจารย์  มาสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพ มีการทบทวนการสอนในคาบเรียนที่แล้ว คือร้องเพลง เพื่อฝึกให้นักศึกษาร้องเพลงให้ตรงจังหวะ สอนตรงต่อเวลา มีการอธิบายเนื้อหาที่เรียน และยกตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นได้ชัดเจน             


วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

 บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 13 มกราคม  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


สัปดาห์ที่ 1   วันที่ 6/1/58
            วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่จะเรียนในเทอมนี้ คือ การส่งงาน  การทำ Blogger  เนื้อหาสาระที่อยู่ใน Blogger  ว่ามีอะไรบ้าง  โดยการทำ Blogger  ครั้งนี้ไม่ต้องทำ Mine Map  เน้นความรู้ที่ได้และเนื้อหาที่เรียน  ถ่ายรูปลงบล็อกได้ และอธิบายใต้ภาพ โดยเทอมนี้จะไม่มีการสอบ Final แต่จะเก็บคะแนนจากการทำ Blogger  



สัปดาห์ที่ 2   วันที่ 13/1/58
            วันนี้อาจารย์เฉลยข้อสอบวิชาการจัดประสบการณ์ที่มีความต้องการพิเศษ  จากนั้นอาจารย์ได้แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อให้นักศึกษาทำแบบทดสอบความรู้เดิมที่เคยเรียนมา  จากนั้นอาจารย์แจกเนื้อเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยและนำนักศึกษาร้องเพลง

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง อ.ศรีนวล  รัตนสุวรรณ
เรียบเรียงโดย อ.ตฤณ แจ่มถิ่น

เพลง นม
นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง

 

เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า  ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว  เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าได้ขุ่นมัว  สุขกายสบายใจ

 

เพลง แปรงฟัน
ตื่นเช้าเราแปรงฟัน
กินอาหารแล้วเราแปรงฟัน
ก่อนนอนเราแปรงฟัน
ฟันสะอาดขาวเป็นเงางาม
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง
แปรงฟันที่ถูกวิธี  ดูซิต้องแปรงขึ้นลง

 

เพลง พี่น้องกัน
บ้านของฉันอยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อ แม่ ปู่ ย่า ลุง ป้า ตา ยาย
มีทั้งน้า อา พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย เราเป็นพี่น้องกัน

 

เพลง มาโรงเรียน
เรามาโรงเรียน เราเขียนเราอ่าน
ครูเล่านิทานสนุกถูกใจ
เราเรียนเราเล่น เราเป็นสุขใจ
ร่าเริงแจ่มใสเมื่อมาโรงเรียน

 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเพลงไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
- นำประสบการณ์ที่ได้ฟังและได้เรียนรู้มาปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง

การประเมิน
ตนเอง  :  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบ จดบันทึกส่วนที่สำคัญๆ ตั้งใจร้องเพลงที่อาจารย์นำมาให้  แต่มีบางท่อนเพี้ยนไปบ้างแต่ก็จะกลับมาพยายามฝึกร้องเพลงให้ดีขึ้นกว่านี้ค่ะ
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการเฉลยข้อสอบ  บางคนมีการจดบันทึก  บางคนก็ตั้งใจฟัง  เพื่อนตั้งใจเรียนดีค่ะ
อาจารย์  มีความพร้อมในการสอน  จัดเตรียมข้อมูลเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดี  สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ทำให้นักศึกษาไม่เครียดจนเกินไป และอุปกรณ์การสอนในห้องเรียนยังไม่พร้อมแต่อาจารย์ก็ยังตั้งใจที่จะสอนนักศึกษาเป็นอย่างดี  มีการยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้ามายิ่งขึ้น ถึงแม้อาจารย์จะไม่ค่อยสบายก็ตาม