(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

 
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 30 เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


สอบร้องเพลง


                          



 การนำไปใช้ 
-                   สามารถนำเพลงไปร้องให้เด็กๆฟังเมื่อทำกิจกรรมได้
-                   สามารถนำเพลงไปปรับประยุกต์ใช้หรือบูรณาการให้เข้ากับรายวิชาอื่นๆได้                               

 ประเมิน 
            ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ฝึกร้องเพลงมาเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะร้องเพี้ยนไปแต่ก็ทำสุดความสามารถแล้ว
            เพื่อน : เข้าเรียนตรงเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย เพื่อนบางคนร้องเพลงเพราะ บางคนก็ร้องผิดๆ ถูกๆ ร้องเพลงเร็วบ้าง ช้าบ้าง ค่อมจังหวะบ้าง ถ้าฝึกร้องมาก็จะร้องตรงคีย์ แต่เพียนก็ไม่เท่าไร ถ้าไม่ได้ฟังและฝึกร้อง มันก็จะร้องผิดๆ หรือร้องค่อมจังหวะไปเลย
             อาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลาทุกครั้ง แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย การจับฉลากร้องเพลง ถือว่าเป็นการวัดแบบที่เป็นกลางมาก เพราะนักศึกษาเป็นคนจับเอง โดยที่อาจารย์ไม่ได้บอกให้ร้อง บางคนที่ไม่ได้จริงๆ อาจารย์ก็ช่วย การสอบถ้าอาจารย์ไม่ช่วยก็ได้ เพราะถือว่ามีเวลาให้ไปฝึกร้องเพลง เพลงก็มีให้ เนื้อร้องก็มี แต่อาจารย์ก็ช่วย บางคนช่วยจบจบเพลงก็มี



วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  21  เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


  ความรู้ที่ได้รับ
  กิจกรรม   ดิ่งพสุธา
Ans  1. เพื่อนโดดได้ เราก็ต้องโดดได้
        2. หวาดเสียว
        3. คุณก็ทำได้
                        โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  
                        (Individualized Education Program)
  แผน IEP
                  แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
                  เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
                  ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
                  โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
เพิ่มเติม  แผนที่ร่างขึ้นจะมีคณะกรรมการในการ เพื่อการเขียนแผน  คนที่ร่วมเขียนแผน คือ ครูประจำชั้น ครูการศึกษาพิเศษ ส่วนมากจะเขียนกัน 2 คน แผน IEP ต้องประชุมผู้ปกครอง และให้ผู้ปกครองเช็นรับทราบ
  การเขียนแผน IEP
                  คัดแยกเด็กพิเศษ
                  ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
                  ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
                  เด็กสามารถทำอะไรได้  เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
                  แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
เพิ่มเติม  แผน IEP ส่วนมากจะใช้ 2 เทอม
  IEP ประกอบด้วย
                  ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
                  ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
                  การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
                  เป้าหมายระยะยาวประจำปี ระยะสั้น
                  ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
                  วิธีการประเมินผล
  ประโยชน์ต่อเด็ก
                  ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
                  ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
                  ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
                  ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
  ประโยชน์ต่อครู
                  เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
                  เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
                  ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
                  เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
                  ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
  ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
                  ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
                  ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
                  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
  ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
  1. การรวบรวมข้อมูล
                  รายงานทางการแพทย์
                  รายงานการประเมินด้านต่างๆ
                  บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เพิ่มเติม  ประวัติส่วนตัวเด็ก โรคประจำตัวเด็ก ข้อมูลจากโรงพยาบาล ได้รับกรดูแลจากที่ไหน พบหมอที่ไหนแล้วบ้าง
  2. การจัดทำแผน
                  ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง      เพิ่มเติม  1. พ่อแม่   2. ครูประจำชั้น   3. ครูการศึกษาพิเศษ (ถ้ามี)   4. ผู้บริหาร   5. ครูสอนเสริม (ถ้ามี)
                  กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
                  กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
                  จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  
  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                  ระยะยาว
                  ระยะสั้น
  จุดมุ่งหมายระยะยาว
                   กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
-                   น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-                   น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-                   น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
  จุดมุ่งหมายระยะสั้น
                  ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก  (ระยะยาว)
                  เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
1.                จะสอนใคร
2.                พฤติกรรมอะไร
3.                เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
4.                พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
                  ใคร                                          อรุณ
                  อะไร                                        กระโดดขาเดียวได้                 
                  เมื่อไหร่ ที่ไหน                       กิจกรรมกลางแจ้ง
                  ดีขนาดไหน                             กระโดดได้ขาละ ครั้งในเวลา 30 วินาที

                  ใคร                                          ธนภรณ์
                  อะไร                                        นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย                       
                  เมื่อไหร่ ที่ไหน                       ระหว่างครูเล่านิทาน
                  ดีขนาดไหน                             ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที
                                                                เป็นเวลา วันติดต่อกัน
  3. การใช้แผน
                  เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
                  นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
                  แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
                  จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                  ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
                  ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
                  ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
                  อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
  4. การประเมินผล
                  โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
                  ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
  การจัดทำ IEP


  ตัวอย่างการเขียนแผนแผน IEP


  แบบฟอร์มการเขียนแผน IEP


กิจกรรมหลังเรียน   แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ คน ให้แต่ละกลุ่มเลือกเพื่อน คนเป็นเด็กพิเศษ
จากนั้นระดมความคิด ในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล

การบ้าน

 จับคู่กับเพื่อน คนทำแผน IEP ส่ง วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2558




  การนำไปใช้
-                   สามารถนำการเขียนแผนในวันนี้ไปใช้ได้จริงในอนาคต
-                   การที่จะเขียนแผนได้ เราต้องรู้จักเด็กก่อน แล้วค่อยเขียนแผน
-                   การเขียนแผนนั้นคนเป็นครูจะต้องให้ผู้ปกครองเซ็นรับทราบก่อนที่จะนำแผนไปใช้กับเด็กได้จริง
  ประเมิน
            ตนเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา จดเพิ่มเติมเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่มีในเนื้อหา ตั้งใจเรียน
            เพื่อน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา บ้างคนก็คุย ไม่ค่อยฟัง บางคนก็ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติม

            อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เตรียมเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด เข้าใจง่าย เวลาที่นักศึกษาทำแผน (กลุ่ม) อาจารย์ก็คอยเดินดูทุกกลุ่ม และชี้แนะแนวทางในการเขียนแผน