(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  7  เมษายน  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.


 ความรู้ที่ได้รับ
-                   เฉลยข้อสอบ
-                   ร้องเพลง
 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 4.            ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เพิ่มเติม  ทักษะทั้ง 4 ด้าน คือสิ่งจำเป็นต่อการเขียนแผน IEP
 เป้าหมาย
                  การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
                  มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
                  เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้   (สำคัญ)
                  พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
                  อยากสำรวจ อยากทดลอง
เพิ่มเติม  เป้าหมายในการส่งเสริมทักษะการเตรียมความพร้อมวิชาการสำหรับเด็กพิเศษ คือ ให้เด็กเรียนรู้ได้มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ให้เด็กรู้สึกว่าทำได้  ทำเป็น  ไม่เห็นจะยากเลย  เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  เด็กส่วนมาก หัวจะไปหรือไม่ อยู่ที่ความกระตือรือร้นของเด็กมากแค่ไหน
 ช่วงความสนใจ
                  ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
                  จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
เพิ่มเติม  เด็กปกติส่วนมากมีสมาธิ ความสนใจประมาณ 10  นาที แต่เด็กพิเศษ จะมีสมาธิ ความสนใจที่สั่นมาก ประมาณ 1-2 นาที 
              สมาธิเด็กปกติอย่างเก่ง ประมาร 10 นาที ส่วนเด็กพิเศษจะอยู่ประมาณ นาที
              เวลาเล่านิทานให้เด็กควรเป็นเรื่องที่สั้นๆก่อน ประมาณ 5-6 นาที แล้วค่อยเพิ่มความยาวต่อไปเรื่อยๆ  ครูต้องคำนึงถึงเด็กพิเศษไว้ก่อน แล้วภาพรวมต้องดี
 การเลียนแบบ
เพิ่มเติม  เด็กพิเศษ ชอบเลียนแบบ เพื่อน พี่ ครู  ต้องให้เด็กพิเศษเลียนแบบบ่อยๆ  การเรียกเด็กควรเรียกเด็กพิเศษก่อน จนเด็กหัน ค่อยเรียกเด็กปกติ แล้วสั่งให้เด็กทำ
 การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
                  เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
                  เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
                  คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
เพิ่มเติม  ระลึกไว้ว่า เด็กพิเศษได้ยินครูพูดหรือเปล่า ส่วนมากเด็กจะไม่ค่อยได้ยิน บางคนก็เบรอๆ บางคนก็ได้ยินแค่คำเดียว คือ ชื่อ แต่ประโยคหลักๆจะไม่ค่อยรู้เรื่อง ครูต้องทวนซ้ำๆหลายๆรอบ ช้าๆ ดูปฏิกิริยาการตอบสนองของเด็กว่าเด็กมีปฏิกิริยาตอบสนองหรือไม่  (อย่าลืมเด็ดขาด) เรียกชื่อเสมอ แล้วให้เด็กหันมาแล้วค่อยสั่ง
 การรับรู้ การเคลื่อนไหว


เพิ่มเติม  เป็นอีกอันที่ต้องใช้เขียนแผน IEP
               เด็กปกติ เรียกปุ๊บ หันปั๊บ แต่เด็กพิเศษ เรียก แต่เด็กหันช้า
 การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
                  การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
                  ต่อบล็อก
                  ศิลปะ
                  มุมบ้าน
                  ช่วยเหลือตนเอง
เพิ่มเติม  เด็กพิเศษต้องฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อเยอะมาก
   กรรไกรที่เหมาะสำหรับเด็กอนุบาลมากที่สุดคือรูปที่ ปลายมน จับง่าย สบายมือ


 ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
                  ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
                  รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
เพิ่มเติม  ลูกปัด ต้องมีขนาดที่ใหญ่ ตัวต่อช่วยได้เยอะสำหรับเด็กพิเศษ




 ความจำ
                  จากการสนทนา
                  เมื่อเช้าหนูทานอะไร
                  แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
                  จำตัวละครในนิทาน
                  จำชื่อครู เพื่อน
                  เล่นเกมทายของที่หายไป
เพิ่มเติม  การจำตัวละครในนิทาน การจำชื่อครู การจำชื่อเพื่อน
 ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
เพิ่มเติม  จำแนก เปรียบเทียบ ระยะทาง มิติสัมพันธ์ ปริมาณ การวัด การตวง
เพิ่มเติม  อยากให้เด็กรู้มิติสัมพันธ์ อยากให้เด็กรู่ว่า ข้างบน หรือ ข้างล่าง โดยที่เด็กปีนอยู่ ถามเด็กว่าสูงไหม อยู่ข้างบนใช่ไหน


 การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
                  จัดกลุ่มเด็ก
                  เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
                  ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
                  ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
                  ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
                  บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
                  รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
                  มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
                  เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
                  พูดในทางที่ดี   ชมเสมอ
                  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
                  ทำบทเรียนให้สนุก
เพิ่มเติม  การให้งานเด็ก เด็กปกติพูดครั้งเดียวก็รู้เรื่อง แต่เด็กพิเศษพูดอย่างเดียวไม่รู้เรื่องต้องบอกและพาเด็กไป  หรือวางผ้าสักราดให้เด็กนั่งทำ
               อุปกรณ์ในแต่ละสัปดาห์ อย่าเปลี่ยนบ่อย ต้องทำให้เด็กคุ้นเคยในแต่ละสัปดาห์
               (ห้ามลืมเด็ดขาด) เวลาจะแจกอุปกรณ์ให้กับเด็กต้องให้เด็กเดินออกหยิบเองทีละคน

การนำไปใช้
-                   การเรียกเด็กพิเศษ ควรให้เด็กหันแล้วค่อยบอก
-                   การใช้อุปกรณ์ในแต่ละสัปดาห์ไม่ต้องเปลี่ยน ให้เด็กให้ของเดิม
-                   การเรียกเด็กพอเศษ ต้องเรียกด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่น

ประเมิน
            ตนเอง แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน จดเพิ่มเติมเนื้อหาเพิ่มเติมที่ไม่มีในเนื้อหา
            เพื่อน ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงต่อเวลา บ้างคนก็คุย ไม่ค่อยฟัง บางคนก็ตั้งใจเรียน จดบันทึกเพิ่มเติม

            อาจารย์ เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เตรียมเนื้อหาการสอนมาเป็นอย่างดี อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้เห็นสมจริงมากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น