(=^ェ^=) Welcome to the blog of Ms.Sangrawee Songtrai(=^ェ^=)

วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  24  กุมภาพันธ์  2558

กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.

สอบ

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

    Professor Happy Birthday!    



  have a Happy Birthday , request have strong health , there is the progress in the work and have one’s hopes fulfilled for what , wish every the points.  



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 10 กุมภาพันธ์  2558
กลุ่มเรียน 105 ( วันอังคาร ) เวลา 08.30 – 12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ
            ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของการเรียนในวันนี้ อาจารย์แจกกระดาษ และถุงมือ อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนเอาถุงมือไปใส่ข้างที่ไม่ถนัด แล้ววาดรูปหลังมือข้างที่ใส่ถุงมือ ลงบนกระดาษ และเก็บรายละเอียดเท่าที่จำได้
เนื้อหา
การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
                  อบรมระยะสั้น , สัมมนา
                  สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
                  เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
                  ครูต้องเรียนรู้ , มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
                  รู้จักเด็กแต่ละคน
                  มองเด็กให้เป็น เด็ก
เพิ่มเติม  คนเป็นครูต้องจำชื่อจริงและชื่อเล่นของเด็กให้ครบทุกคน
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
                  การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย
เพิ่มเติม ครูต้องมีจริตในการพูด การเอาเรื่องของเด็กไปพูดกับครูท่านอื่นควรพูดในแง่บวกอย่าพูดแง่ลบให้ครูคนอื่นฟัง
ความพร้อมของเด็ก
                  วุฒิภาวะ
                  แรงจูงใจ
                  โอกาส
การสอนโดยบังเอิญ
                  ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม / เด็กเป็นฝ่ายถาม
                  เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
                  ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
                  ครูต้องมีความสนใจเด็ก
                  ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
                  ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
                  ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
                  ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
                  ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
อุปกรณ์
                  มีลักษณะง่ายๆ
                  ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
                  เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
                  เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ
เพิ่มเติม อุปกรณ์ไม่แบ่งเพศ เช่น แป้งโด , ตัวต่อ , ไม้บล็อก เป็นต้น
             อุปกรณ์แบ่งเพศ เช่น ตุ๊กตา , หุ่นยนต์ , ที่คาดผม เป็นต้น
ตารางประจำวัน
                  เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
                  กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
                  เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
                  การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
                  คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา
ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
                  การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
                  ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
                  ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน  (สำคัญที่สุด)
การใช้สหวิทยาการ

                  ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
                  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน
การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
เด็กทุกคนสอนได้
                  เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
                  เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส
เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
                  ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
                  มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
                  หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
                  ตอบสนองด้วยวาจา
                  การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
                  พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง
                  สัมผัสทางกาย
                  ให้ความช่วยเหลือ , ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
เพิ่มเติม การทำศิลปะสำหรับเด็กพิเศษ ครูควรให้เด็กทำให้เสร็จก่อน แล้วให้เขาเล่าให้ฟัง ครูอย่าไปพูดหรือชี้แนะเด็ก เพราะจะทำให้ไปเปลี่ยนความคิดหรือจินตนาการของเด็ก
หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
                  ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
                  ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
                  ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
เพิ่มเติม ครูควรชมเด็กแค่พฤติกรรมที่ครูตั้งเป้าไว้
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
                  ย่อยงาน
                  ลำดับความยากง่ายของงาน
                  การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
                  การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ  (สำคัญสำหรับเด็ก)
ขั้นตอนการให้แรงเสริม
                  สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
                  วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
                  สอนจากง่ายไปยาก
                  ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
                  ลดการบอกบท เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
                  ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
                  ทีละขั้น ไม่เร่งรัด ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
                  ไม่ดุหรือตี
การกำหนดเวลา
                  จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
                  พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
                  เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
                  สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง
เพิ่มเติม สอนแบบก้าวไปข้างหน้า คือ ให้เด็กทำเองตั้งแต่แรก จนถึงขั้นสุดท้าย
ย้อนมาจากข้างหลัง คือ ครูจะทำให้เด็กตั้งแต่ขั้นแรก ส่วนขั้นสุดท้ายเด็กจะเป็นคนทำเอง
เด็กตักซุป
                  การจับช้อน
                  การตัก
                  การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
                  การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
                  การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู้ปาก
การลดหรือหยุดแรงเสริม
                  ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
                  ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
                  เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก
                  เอาเด็กออกจากการเล่น
ความคงเส้นคงวา

กิจกรรม ร้องเพลง





การบ้าน อาจารย์ให้นักศึกษากลับไปฝึกร้องเพลง 4 เพลง

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-                   สามารถนำเพลงไปปรับ / ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ในอนาคต
-                    ได้รู้การร้องเพลงที่ถูกต้อง และตรงจังหวะ
-                    ได้รู้เทคนิค และวิธีการเสริมแรงว่าควรเสริมแรงให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี
การประเมิน
ตนเอง  เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่กายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจวาดรูป และร้องเพลง แม้จะวาดไม่สวยก็ตาม ร้องเพลงก็มีเพี้ยนบ้าง ตั้งใจเรียน ฟังเวลาที่อาจารย์อธิบาย  จดบันทึกในส่วนที่ไม่มีในเนื้อหาเพิ่มเติม
เพื่อน  เข้าเรียนตรงต่อเวลา อาจมีบางคนเข้าเรียนสายบ้างแต่ไม่เยอะ มีความตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายเป็นอย่างดี เพื่อนบางคนมีการจดเนื้อหาเพิ่มเติม

อาจารย์  อาจารย์มาสอนตรงต่อเวลา แต่กายเรียบร้อย อาจารย์หากิจกรรมมานักศึกษาได้ทำ ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่บทเรียน